Monday, 29 April 2024
ศรัณย์ ดั่นสถิตย์

“Luxury Train” ยกระดับการเดินทางของผู้มีเงินและความสุนทรี...ด้วยรถไฟขบวนหรู

หลายท่านอาจจะนึกถึงภาพการเดินทางด้วยรถไฟที่ช้า ไม่ตรงต่อเวลา และรถที่มีสภาพเก่า แต่ยังมีรถไฟบางขบวนที่ให้บริการเหมือนกับโรงแรมห้าดาวที่สามารถเคลื่อนที่ได้ มีห้องพักที่หรูหราและสะดวกสบาย ให้บริการอาหารที่ปรุงด้วยเชฟฝีมือเยี่ยม และมีการแวะเที่ยวสถานที่สำคัญที่อยู่สองข้างทาง ทำให้การเดินทางด้วยขบวนรถไฟเหล่านี้ไม่ได้เน้นไปให้ถึงจุดหมายการเดินทาง แต่เน้นการท่องเที่ยวและพักผ่อนระหว่างการเดินทาง แถมด้วยขบวนรถแบบนี้ยังมีให้บริการในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งรถไฟแบบนี้เรียกกันว่า “Luxury Train”

ในอดีตการเดินทางด้วยรถไฟในเส้นทางที่ยาวไกลไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าที่ควร เนื่องจากผู้โดยสารต้องนั่งหลับบนที่นั่งของตนเอง และที่นั่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถปรับเอนได้ ต่อมา ‘George M. Pullman’ จึงเห็นโอกาสทางธุรกิจและเปิดให้บริการขบวนรถ “Pioneer” ที่มีห้องโดยสารสามารถปรับเป็นที่นอนได้ขบวนแรกในปี 1865 โดยเริ่มต้นการให้บริการระหว่างเมืองชิคาโกและสปริงฟิลด์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และในสองปีถัดมา Pullman ได้เปิดให้บริการ Hotel train ที่นอกจากเป็นรถไฟตู้นอนแล้ว ยังมีบริการห้องอาหาร ที่แต่เดิมนั้นผู้โดยสารต้องลงไปซื้ออาหารตามสถานี 

เมื่อขบวนรถไฟแบบนี้เริ่มได้รับความนิยมจึงมีผู้ให้บริการหลายรายออกแบบและเพิ่มเติมความหรูหรารวมถึงความสะดวกสบายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะมองว่าการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกและความหรูหราเหล่านั้น เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับรถไฟของตน และสามารถเก็บค่าโดยสารได้สูงขึ้นจึงเป็นจุดกำเนิดของ “Luxury Train”

ภาพจาก: https://www.historyhit.com/what-was-it-like-to-ride-a-victorian-luxury-train/

ถึงแม้ในปัจจุบัน จะมีทางเลือกการเดินทางได้หลายแบบที่ใช้ระยะเวลาน้อยกว่า และค่าโดยสารถูกกว่า แต่การให้บริการรถไฟหรูก็ยังคงมีอยู่ในหลายเส้นทาง เพราะการใช้บริการรถไฟแบบนี้เน้นการได้รับประสบการณ์ระหว่างการเดินทางพร้อมกับสิ่งอำนวยครบครัน ไม่ว่าจะเป็นห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัว ที่บางห้องติดตั้งอ่างอาบน้ำด้วย ห้องอาหารที่ให้บริการแบบ fine dinning จากเชฟมากฝีมือ ห้องนั่งพักผ่อนสำหรับจิบชายามบ่าย นอกจากนั้นบางขบวนยังมีรถชมวิวที่เปิดโล่งเพื่อให้สัมผัสได้ถึงอากาศภายนอก หรือห้องสปาสำหรับผ่อนคลายจากการเดินทาง ในวันนี้จึงขอแนะนำตัวอย่างขบวนรถไฟหรูที่มีความโดดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว

มาเริ่มต้นกันด้วยรถที่ให้บริการในทวีปยุโรป นั้นคือขบวน “Venice Simplon-Orient-Express” ที่ให้บริการระหว่างลอนดอนและเวนิส ซึ่งรถไฟสายนี้ยังเป็นฉากดำเนินเรื่องในนวนิยาย Murder on the Orient Express ของ ‘อกาธา คริสตี้’ นักเขียนแนวสืบสวนสอบสวนชื่อดัง ผ่านวิวที่สวยงามของประเทศในยุโรป โดยเฉพาะช่วงระหว่าง Brenner และ Innsbruck ในประเทศออสเตรีย ส่วนของห้องพักที่ให้บริการมีทั้งแบบห้องเดี่ยวและห้องคู่ นอกจากนั้นยังมีห้องสูทที่มีการตกแต่งเป็นรูปแบบเฉพาะอีก 6 ห้อง และตั้งชื่อตามเมืองต่าง ๆ ที่รถไฟขวบวนนี้เคยวิ่งผ่าน โดยการเดินทางใช้ระยะเวลา 2 วัน มีค่าโดยสารเริ่มต้นที่คนละ 110,000 บาท

ภาพจาก: www.belmond.com

ข้ามฝั่งไปที่ประเทศแคนาดา ก็มีรถไฟหรูที่มีชื่อเสียงอย่างขบวน “Royal Canadian Pacific” ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และเคยให้การต้อนรับราชวงศ์และผู้นำประเทศหลายครั้ง ในส่วนของโปรแกรมการเดินทางก็มีให้เลือกได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเลาะริมเทือกเขาร็อกกี้ ที่ใช้ระยะเวลาเดินทาง 5 วัน หรือโปรแกรม 4 วัน ที่ให้เลือกว่าจะไปเส้นทางริมมหาสมุทรแปซิฟิกหรือผ่านทุ่งหญ้าแพร์รี่ โดยมีค่าโดยสารเริ่มต้นคนละ 300,000 บาท

ภาพจาก: www.royalcanadianpacific.com

ลงใต้ไปที่ประเทศเปรูก็มีรถไฟหรูอย่างขบวน “Belmond Andean Explorer” ที่เพิ่งเริ่มเปิดให้บริการในปี 2017 และเป็นรถไฟ Luxury Train ขบวนแรกที่ให้บริการในอเมริกาใต้ ให้บริการบนเส้นทางที่ราบสูงเปรูที่มีระดับความสูงไม่น้อยกว่า 3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ดังนั้นในห้องพักทุกห้องจึงต้องมีจุดจ่ายออกซิเจนเพราะอากาศในที่สูงจะเบาบางกว่าปกติ และอาจมีอาการแพ้ความสูง (Altitude sickness) ได้ นอกจากนั้นยังมีสปาบนรถเพื่อการผ่อนคลายระหว่างการท่องเที่ยว ในส่วนโปรแกรมการท่องเที่ยวสามารถเลือกได้ทั้งแบบ 2 วัน เพื่อชมวิวของเทืองเขาแอนดิส หรือ 3 วันเพื่อไปท่องเที่ยวอารยธรรมอินดาและทะเลสาบติติกากา โดยมีค่าโดยสารเริ่มต้นคนละ 36,000 บาท

ภาพจาก: www.belmond.com

“Joyful Train” รถไฟสายสุข ความสนุกที่เลือกได้ในแดนซากุระ

เราอาจจะคุ้นเคยกับภาพรถไฟนำเที่ยวของไทยที่ใช้ขบวนรถไฟปกติมาจัดเป็นขบวนพิเศษรับส่งผู้โดยสารไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เมื่อถึงปลายทางที่กำหนดก็ลงไปเล่นน้ำตก นอนเล่นริมชายหาด แล้วก็นั่งรถไฟขบวนเดิมกลับบ้าน แต่ในญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำทางด้านการขนส่งทางรถไฟได้มีการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวด้วยรถไฟ ที่ผู้โดยสารสามารถสัมผัสได้ถึงประสบการณ์แปลกใหม่ระหว่างการโดยสาร ซึ่งเรียกขบวนรถไฟแบบนี้ว่า “Joyful Train”

Joyful Train เป็นรถไฟขบวนพิเศษที่จัดเฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว อาจจะมีการวิ่งเป็นประจำหรือวิ่งแค่ตามช่วงเทศกาล และรถที่ให้บริการมีตั้งแต่การจัดชุดขบวนโดยมีรถจักรไอน้ำลากจูง ขบวนรถดีเซลราง ขบวนรถไฟฟ้า รวมไปถึงรถไฟชินคันเซ็น และที่มีการพูดถึงกันมากในหมู่นักท่องเที่ยวนั้นคือขบวนรถ Joyful Train ที่ให้บริการโดย JR East ที่ขบวนรถได้ที่ถูกออกแบบและตกแต่งให้เข้ากับธีมงานหรืองานเทศกาลต่าง ๆ ตั้งแต่การออกแบบที่นั่ง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำบนรถ และอาหารที่ให้บริการ เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างการเดินทาง

JR East เป็นผู้ให้บริการเดินรถทางภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น มีบริการ Joyful Train ในหลายรูปแบบ ขอเริ่มด้วยการแนะนำขบวนรถที่มีรูปแบบการตกแต่งภายในแบบเฉพาะตัวและมีกิจกรรมพิเศษบนขบวนรถ 

Toreiyu Tsubasa 
ขบวนรถไฟชินคันเซ็นที่ให้บริการในจังหวัดยามากาตะ และจังหวัดนี้มีชื่อเสียงเรื่องออนเซ็น จึงได้ออกแบบให้มีอ่างแช่เท้าออนเซ็นบนรถ พร้อมกับที่นั่งบุเสื่อทาทามิ เพื่อให้รู้สึกเหมือนกับการพักผ่อนหลังจากแช่น้ำแร่ตามเรียวกัง พร้อมเคาน์เตอร์ให้บริการเครื่องดื่มที่เป็นผลผลิตมาจากท้องถิ่น และยังได้ของที่ระลึกเป็นผ้าขนหนูลายพิเศษสำหรับขบวนนี้โดยเฉพาะ

POKÉMON with YOU Train 
รถไฟขบวนนี้เริ่มให้บริการในปี 2012 เพื่อเป็นการสร้างความสุขให้เก็บเด็ก ๆ หลังจากที่ญี่ปุ่นต้องประสบกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ขบวนรถตกแต่งด้วยสีเหลืองพร้อมกับตัวการ์ตูนปิกาจู ในขบวนมีรถเพียงแค่ 2 คัน คือตู้โดยสารและตู้ Playroom สำหรับเด็ก ๆ ให้มาเล่นกับตัวการ์ตูน และตามสถานีรถไฟต่าง ๆ ที่รถจอด ยังมีจุดให้ถ่ายรูปกับเหล่าตัวการ์ตูนอีกหลายที่พร้อมจุดเช็กอิน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้โดยสารเดินเที่ยวไปทั่วเมือง

HIGH RAIL 1375
เส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่านเป็นทางรถไฟที่อยู่สูงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คือที่ระดับความสูง 1,375 เมตรจากระดับน้ำทะเล จึงนำความสูงนี้มาตั้งเป็นชื่อขบวนรถ และจัดธีมของรถขบวนนี้ให้เป็นรถไฟที่อยู่ใกล้ท้องฟ้ามากที่สุด และมุ่งเน้นการดูดาวจากจุดสูงสุดที่รถไฟสามารถผ่านได้ หากมาเที่ยวช่วงกลางวันสามารถมองวิวจากภาพมุมสูงและดูท้องฟ้าจำลองที่มีในรถได้ แต่หากมารอบเย็นจะได้ลงแวะที่สถานี และมีทัวร์ไปดูดาวที่รวมอยู่ในค่าโดยสารแล้วด้วย

นอกจากนั้นยังมีขบวนรถที่ทำเป็นภัตตาคารเคลื่อนที่ ผู้โดยสารสามารถชิมอาหารรสเลิศที่ปรุงจากวัตถุดิบในท้องถิ่นพร้อมกับชมบรรยากาศอันสวยงามสองข้างทาง

“ประเทศสิงคโปร์” เป็นประเทศที่มีการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีไปตามทุกยุคทุกสมัยได้อย่างรวดเร็วด้วยประชากรและทรัพยากรทำให้ต้องมีความพร้อม ปรับตัวอยู่เสมอ รวมไปถึงเทคโนโลยีอย่าง “ยานยนต์อัตโนมัติ”

ช่วงนี้ท่านผู้อ่านน่าจะได้ข่าวเกี่ยวกับการทดลองและทดสอบรถยนต์อัตโนมัติในหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวที่มาจากประเทศในแถบตะวันตก แต่กลับมีประเทศที่มีความพร้อมในการใช้รถยนต์อัตโนมัติมากที่สุดและอยู่ในภูมิภาคอาเซียน นั่นคือประเทศ “สิงคโปร์”

บริษัท KMPG ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกได้เริ่มศึกษาดัชนีชี้วัดความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนในแต่ละประเทศ (Autonomous Vehicles Readiness Index : AVRI) ตั้งแต่ปี 2018 โดยดัชนี AVRI มีการประเมินด้วย 28 หัวข้อชี้วัด ภายใต้ 4 ด้านหลัก คือ นโยบายและกฎหมาย เทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการยอมรับของผู้บริโภค และการจัดอันดับล่าสุดในปี 2020 สิงคโปร์ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนขับมากที่สุด เบียดเนเธอร์แลนด์ที่เคยอยู่ที่หนึ่งมาสองปีติดกัน

หากมาพิจารณาในรายละเอียด สิงคโปร์ได้คะแนนอันดับหนึ่งในด้านนโยบายและกฎหมาย และการยอมรับของผู้บริโภค โดยสิงคโปร์ได้เริ่มต้นจากการจัดตั้ง Committee on Autonomous Road Transport for Singapore (CARTS) ในปี 2014 เพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการปรับใช้รถยนต์ไร้คนขับ

ต่อมาในปี 2016 รัฐบาลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางจัดตั้ง Centre of Excellence for Testing and Research of AVs-NTU (CETRAN) เพื่อเป็นศูนย์ทดสอบและให้การรับรองรถยนต์อัตโนมัติ ได้มีการออกแบบสนามทดสอบโดยจำลองสภาพถนนในสิงคโปร์ รวมถึงจำลองสถานการณ์สภาพฝนตกและน้ำท่วมขังเพื่อให้การทดสอบใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด

ในปี 2019 องค์การขนส่งทางบกของสิงคโปร์ (Land Transport Authority : LTA) ได้ออกมาตรฐานรถยนต์ไร้คนขับ ที่เรียกว่า Technical Reference 68 (TR68) เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนายานยนต์อัตโนมัติ โดยครอบคลุมถึงพฤติกรรมโดยทั่วไปของยานพาหนะ มาตรฐานความปลอดภัย ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ และมาตรฐานรูปแบบข้อมูล จากการออกมาตรฐานนี้ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเพราะเป็นการลดความเสี่ยงว่าเทคโนโลยีที่ตนเองลงทุนศึกษาค้นคว้าไปนั้นจะไม่ถูกกำหนดเป็นมาตรฐานในการใช้งานจริง

และความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนขับนั้นต้องมีพื้นฐานมาจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นทางรัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยกำหนดให้ยกเลิกใช้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในปี 2040 และมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2023 รัฐบาลสนับสนุนส่วนลดสูงสุดถึงคันละ 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือราว 489,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนลดประมาณ 11% ของมูลค่ารถ นอกจากนั้นยังให้ส่วนลดภาษีการใช้ถนนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และมีนโยบายขยายจุดชาร์จไฟจาก 1,600 จุดเป็น 28,000 จุดภายในปี 2030

ส่วนการทดสอบวิ่งนั้นในขณะนี้มาถึงขั้นตอนการทดสอบวิ่งบนถนนสาธารณะ โดยในปี 2021 ได้เริ่มใช้รถเมล์อัตโนมัติให้บริการในสองเส้นทางในฝั่งตะวันตกของประเทศ และมีเป้าหมายจะวิ่งทดสอบในเส้นทางฝั่งตะวันตกทั้งหมด สาเหตุที่เลือกทดสอบในฝั่งตะวันตกนั้นเนื่องจากเป็นเขตเมืองใหม่ซึ่งมีประชาการอาศัยอยู่หนาแน่นน้อยกว่าและสภาพการจราจรที่คล่องตัวกว่าทางฝั่งตะวันออกของประเทศ

ในส่วนการยอมรับของผู้ใช้งานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อการปรับใช้รถยนต์อัตโนมัติ ซึ่งสิงคโปร์ถูกจัดเป็นผู้นำในด้านนี้ โดยมีสาหตุมาจากการทดสอบวิ่งในหลายพื้นที่ส่งผลให้ประชาชนคุ้นชินกับรถยนต์อัตโนมัติ และชาวสิงคโปร์เองมีความคุ้นเคยกับการใช้งานระบบ ICT และมีทักษะสูงทางด้านดิจิตอล นอกจากนั้นชาวสิงคโปร์ยังนิยมการใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถยนต์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเข้าถึงรถยนต์อัตโนมัติสาธารณะตามความต้องการ

จากตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ สามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาที่ดีของแนวทางการปรับใช้รถยนต์อัตโนมัติ เริ่มจากมีหน่วยงานที่ชัดเจนในการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงาน การกำหนดนโยบายการส่งเสริมที่ชัดเจนทั้งในด้านงบประมาณสำหรับการวิจัย การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นพื้นฐานของรถยนต์อัตโนมัติ และการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิตอลของประชาชนในประเทศซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับการใช้รถยนต์อัตโนมัติ

.

เขียนโดย : อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์
อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ขอบคุณข้อมูลที่มา
https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2020/06/autonomous-vehicles-readiness-index.html
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/newsroom/2019/1/2/joint-media-release-by-the-land-transport-authority-lta-enterprise-singapore-standards-development-organisation-singapo.html
https://www.straitstimes.com/singapore/transport/singapore-budget-2020-push-to-promote-evs-in-move-to-phase-out-petrol-and-diesel
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/newsroom/2020/2/news-releases/Supporting_cleaner_and_greener_vehicles.html
https://techwireasia.com/2019/03/how-the-ltas-tr68-fuelled-singapores-autonomous-vehicle-agenda/
https://www.straitstimes.com/singapore/transport/pay-to-ride-on-driverless-buses-in-two-areas-until-april-30
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/industry_innovations/technologies/autonomous_vehicles.html

หลาย ๆ คนคงมีประสบการณ์ในการโดยสารเครื่องบินนาน ๆ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า และอยากให้เครื่องบินมีความรวดเร็วในการโดยสารมากขึ้น สายการบิน United Airlines ก็มีการวางแผนในการให้ทุกคนสามารถโดยสารบนเครื่องบินได้รวดเร็ว ลดระยะเวลาเดินทางไปถึงครึ่ง !

หลายท่านที่เคยนั่งเครื่องบินข้ามทวีปที่ต้องใช้เวลาบินนาน ๆ คงรู้สึกเมื่อยล้า และอ่อนเพลียจากการเดินทาง หากสามารถลดระยะเวลาเดินทางได้ครึ่งหนึ่ง ด้วยค่าโดยสารที่ไม่สูงจนเกินไป คงเป็นสิ่งที่นักเดินทางหลายคนใฝ่ฝัน

สายการบิน United Airlines กำลังจะทำให้ความฝันนั้นกลายเป็นจริง ด้วยการประกาศแผนการสั่งซื้อเครื่องบิน Supersonic รุ่น Overture จำนวน 15 ลำ จาก Boom Supersonic ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหม่ในสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ในปี 2029

โดยปกติเครื่องเจ็ทสำหรับโดยสาร บินด้วยความเร็วประมาณ 900 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่เครื่องบินแบบ Supersonic มีความสามารถในการบินได้ความเร็วเหนือเสียง โดยเครื่อง Overture ถูกออกแบบให้บินได้ที่มัค 1.7 หรือ 1.7 เท่าของความเร็วเสียง นั้นคือประมาณ 1,805 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วเป็นสองเท่าของเครื่องบินเจ็ทปกติ

การใช้เครื่องบินพาณิชย์ที่มีความเร็วเหนือเสียงไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในปี 1976 สายการบิน British Airways และ Air France เปิดตัวการให้บริการด้วยเครื่องบิน Concorde เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง โดยเส้นทางการบินหลักคือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อเชื่อมโยงลอนดอนและปารีสกับนิวยอร์ก ใช้เวลาบินเพียงครึ่งเดียวของการบินปกติ แต่ข้อจำกัดของเครื่องบินคอนคอร์ดคือการบริโภคเชื้อเพลิงและค่าซ่อมบำรุงที่สูง จึงจำเป็นต้องขายตั๋วโดยสารไปกลับเมื่อเทียบกับค่าเงินปัจจุบันด้วยราคา 20,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 620,000 บาทต่อคน !!!!! ด้วยราคานี้จึงไม่ใช่การเดินทางปกติ แต่เป็นสิ่งที่บางคนอยากทำสักครั้งในชีวิต จึงเป็นการยากที่จะหาผู้โดยสารให้เต็ม 100 ที่นั่งในแต่ละเที่ยว

นอกจากนั้นยังมีประเด็นเรื่องของเสียง เนื่องจากหากเครื่องบินทำความเร็วเกินความเร็วเสียง จะก่อให้เกิดช็อคเวฟ ที่มีเสียงดังคล้ายฟ้าร้องที่เรียกกันว่า โซนิคบูม (Sonic Boom) ดังนั้นในหลายประเทศจึงห้ามการบินด้วยความเร็วเหนือเสียง บนแผ่นดินหรือพื้นที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัย จึงเป็นข้อจำกัดของเส้นทางการบินที่จะทำความเร็วได้เฉพาะเมื่อบินเหนือทะเล จากข้อจำกัดดังกล่าว และประกอบกับภาวะขาลงของธุรกิจการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 จึงทำให้เครื่องบินคองคอร์ดหยุดให้บริการในปี 2003   

ทาง Boom Supersonic จึงได้ศึกษาบทเรียนจากคองคอร์ด และข้อกังวลของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นอีก นำมาใช้ในการออกแบบเครื่องบิน Overture ที่สามารถจุผู้โดยสารได้ 65-88 คน และที่นั่งเป็นแบบสองแถว แถวละหนึ่งที่นั่ง เพื่อลดการสัมผัสในห้องโดยสาร และออกแบบเน้นเรื่องของสุขอนามัยแทนสิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องสำหรับการเดินทางระยะนาน ๆ

นอกจากนั้นยังมีการออกแบบตัวเครื่องและเครื่องยนต์ เพื่อลดระดับการเกิดโซนิคบูม รวมถึงการเป็นอากาศยานไร้มลพิษ (net-zero carbon aircraft) โดยออกแบบให้เครื่องยนต์สามารถใช้เชื้อเพลิงทางเลือกได้

เป้าหมายระยะไกลของ Boom คือการพัฒนาเครื่องบินให้มีความเร็วสูงขึ้น เพื่อบินไปทุกแห่งทั่วโลกโดยใช้เวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง และออกแบบเครื่องบินให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายต่อที่นั่ง โดยตั้งเป้าให้มีค่าโดยสารต่อเที่ยวไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 32,000 บาท ซึ่งเป็นราคาเดียวกับค่าโดยสารชั้นธุรกิจ

แต่นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการบินหลายท่านให้ความเห็นว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าสิบปีในการพัฒนาเครื่องบิน เพื่อลดเสียงที่เกิดขึ้นจากการบิน และใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 20 ปี ในการพัฒนาวัสดุเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ให้ทนกับความร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินทำความเร็วสูงเป็นระยะเวลานาน

คงต้องติดตามกันว่าเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงที่คนทั่วไปสามารถนั่งได้จะเป็นจริงหรือไม่ เพราะหากเกิดขึ้นจริงจะส่งผลให้รูปแบบการเดินทางของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเดินทางไกลข้ามทวีป

.

เขียนโดย : อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์
อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ข้อมูลอ้างอิง
https://edition.cnn.com/travel/article/boom-supersonic-four-hours-100-bucks/index.html
https://www.businessinsider.com/boom-supersonic-interview-overture-concorde-ceo-2020-10
https://www.cnbc.com/2021/06/03/united-will-buy-15-ultrafast-airplanes-from-start-up-boom-supersonic.html
https://www.nbcnews.com/science/science-news/supersonic-airliners-hit-turbulence-jet-developer-shuts-rcna1044?utm_source=morning_brew
https://www.bbc.com/news/technology-57361193

สิงคโปร์ ยืนหนึ่ง!! ประเทศที่ ‘พร้อมใช้ยานยนต์อัตโนมัติมากที่สุด’

ช่วงนี้ท่านผู้อ่านน่าจะได้ข่าวเกี่ยวกับการทดลองและทดสอบรถยนต์อัตโนมัติในหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวที่มาจากประเทศในแถบตะวันตก แต่กลับมีประเทศที่มีความพร้อมในการใช้รถยนต์อัตโนมัติมากที่สุดและอยู่ในภูมิภาคอาเซียน นั่นคือประเทศ “สิงคโปร์”

บริษัท KMPG ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกได้เริ่มศึกษาดัชนีชี้วัดความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนในแต่ละประเทศ (Autonomous Vehicles Readiness Index : AVRI) ตั้งแต่ปี 2018 โดยดัชนี AVRI มีการประเมินด้วย 28 หัวข้อชี้วัด ภายใต้ 4 ด้านหลัก คือ นโยบายและกฎหมาย เทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการยอมรับของผู้บริโภค และการจัดอันดับล่าสุดในปี 2020 สิงคโปร์ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนขับมากที่สุด เบียดเนเธอร์แลนด์ที่เคยอยู่ที่หนึ่งมาสองปีติดกัน

หากมาพิจารณาในรายละเอียด สิงคโปร์ได้คะแนนอันดับหนึ่งในด้านนโยบายและกฎหมาย และการยอมรับของผู้บริโภค โดยสิงคโปร์ได้เริ่มต้นจากการจัดตั้ง Committee on Autonomous Road Transport for Singapore (CARTS) ในปี 2014 เพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการปรับใช้รถยนต์ไร้คนขับ

ต่อมาในปี 2016 รัฐบาลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางจัดตั้ง Centre of Excellence for Testing and Research of AVs-NTU (CETRAN) เพื่อเป็นศูนย์ทดสอบและให้การรับรองรถยนต์อัตโนมัติ ได้มีการออกแบบสนามทดสอบโดยจำลองสภาพถนนในสิงคโปร์ รวมถึงจำลองสถานการณ์สภาพฝนตกและน้ำท่วมขังเพื่อให้การทดสอบใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด

ในปี 2019 องค์การขนส่งทางบกของสิงคโปร์ (Land Transport Authority : LTA) ได้ออกมาตรฐานรถยนต์ไร้คนขับ ที่เรียกว่า Technical Reference 68 (TR68) เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนายานยนต์อัตโนมัติ โดยครอบคลุมถึงพฤติกรรมโดยทั่วไปของยานพาหนะ มาตรฐานความปลอดภัย ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ และมาตรฐานรูปแบบข้อมูล จากการออกมาตรฐานนี้ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเพราะเป็นการลดความเสี่ยงว่าเทคโนโลยีที่ตนเองลงทุนศึกษาค้นคว้าไปนั้นจะไม่ถูกกำหนดเป็นมาตรฐานในการใช้งานจริง

และความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนขับนั้นต้องมีพื้นฐานมาจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นทางรัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยกำหนดให้ยกเลิกใช้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในปี 2040 และมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2023 รัฐบาลสนับสนุนส่วนลดสูงสุดถึงคันละ 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือราว 489,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนลดประมาณ 11% ของมูลค่ารถ นอกจากนั้นยังให้ส่วนลดภาษีการใช้ถนนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และมีนโยบายขยายจุดชาร์จไฟจาก 1,600 จุดเป็น 28,000 จุดภายในปี 2030

ส่วนการทดสอบวิ่งนั้นในขณะนี้มาถึงขั้นตอนการทดสอบวิ่งบนถนนสาธารณะ โดยในปี 2021 ได้เริ่มใช้รถเมล์อัตโนมัติให้บริการในสองเส้นทางในฝั่งตะวันตกของประเทศ และมีเป้าหมายจะวิ่งทดสอบในเส้นทางฝั่งตะวันตกทั้งหมด สาเหตุที่เลือกทดสอบในฝั่งตะวันตกนั้นเนื่องจากเป็นเขตเมืองใหม่ซึ่งมีประชาการอาศัยอยู่หนาแน่นน้อยกว่าและสภาพการจราจรที่คล่องตัวกว่าทางฝั่งตะวันออกของประเทศ

ในส่วนการยอมรับของผู้ใช้งานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อการปรับใช้รถยนต์อัตโนมัติ ซึ่งสิงคโปร์ถูกจัดเป็นผู้นำในด้านนี้ โดยมีสาหตุมาจากการทดสอบวิ่งในหลายพื้นที่ส่งผลให้ประชาชนคุ้นชินกับรถยนต์อัตโนมัติ และชาวสิงคโปร์เองมีความคุ้นเคยกับการใช้งานระบบ ICT และมีทักษะสูงทางด้านดิจิตอล นอกจากนั้นชาวสิงคโปร์ยังนิยมการใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถยนต์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเข้าถึงรถยนต์อัตโนมัติสาธารณะตามความต้องการ

จากตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ สามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาที่ดีของแนวทางการปรับใช้รถยนต์อัตโนมัติ เริ่มจากมีหน่วยงานที่ชัดเจนในการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงาน การกำหนดนโยบายการส่งเสริมที่ชัดเจนทั้งในด้านงบประมาณสำหรับการวิจัย การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นพื้นฐานของรถยนต์อัตโนมัติ และการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิตอลของประชาชนในประเทศซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับการใช้รถยนต์อัตโนมัติ


ขอบคุณข้อมูลที่มา
https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2020/06/autonomous-vehicles-readiness-index.html
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/newsroom/2019/1/2/joint-media-release-by-the-land-transport-authority-lta-enterprise-singapore-standards-development-organisation-singapo.html
https://www.straitstimes.com/singapore/transport/singapore-budget-2020-push-to-promote-evs-in-move-to-phase-out-petrol-and-diesel
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/newsroom/2020/2/news-releases/Supporting_cleaner_and_greener_vehicles.html
https://techwireasia.com/2019/03/how-the-ltas-tr68-fuelled-singapores-autonomous-vehicle-agenda/
https://www.straitstimes.com/singapore/transport/pay-to-ride-on-driverless-buses-in-two-areas-until-april-30
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/industry_innovations/technologies/autonomous_vehicles.html


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“Podcar” เป็นระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถไปถึงจุดหมายได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีความเป็นส่วนตัวเปรียบเสมือนการนำบริการแบบรถไฟฟ้ารวมกับรถแท๊กซี่ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาจราจรได้อย่างดีอีกด้วย

หลายท่านน่าจะได้เคยดูหนังแนววิทยาศาสตร์โลกอนาคต เนื้อหาในเรื่องมียานพาหนะส่วนตัวมารับในเวลาที่ต้องการ และไปจุดหมายตามที่ต้องการโดยอัตโนมัติ ระหว่างทางก็นั่งคุยกันไปโดยไม่ต้องกังวลกับการควบคุมยานพาหนะนั้น ดูเหมือนว่าเรื่องแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต แต่ความเป็นจริงแล้วได้มีระบบขนส่งแบบนี้เปิดใช้งานจริงมานานกว่าสี่สิบปีแล้ว ในชื่อที่เรียกว่า “Podcar”

ในช่วงปี 1950 ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างกระจัดกระจาย คือเกิดชุมชนใหม่ในแถบชานเมือง แต่คนยังต้องเข้ามาทำงานในใจกลางเมืองด้วยการขับรถยนต์ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อใช้แก้ปัญหานี้ และในช่วงนั้นได้มีการวิจัยรูปแบบการขนส่งต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจราจร หนึ่งในนั้นก็มีแนวคิดว่าผู้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ใช่ระบบขนส่งมวลชนเพราะไม่สะดวกและไม่เป็นส่วนตัวเหมือนกับการใช้รถยนต์ จึงมีการพัฒนาระบบขนส่ง Private Public Transit (PRT) ขึ้น

ระบบ PRT เป็นยานพาหนะขนาดเล็กที่จุผู้โดยสารได้ 2-6 คน หากจุผู้โดยสารมากกว่านั้นจะถูกเรียกว่า Group Rapid Transport (GRT) หรือเรียกอีกชื่อว่า Podcar ตามรูปทรงของรถ ระบบของ Podcar ถูกออกแบบมาให้วิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนดและจอดตามจุดที่ต้องการโดยอัตโนมัติ และสิ่งที่แตกต่างจากระบบขนส่งสาธารณะทั่วไป คือ สามารถไปถึงจุดหมายโดยไม่ต้องจอดแวะระหว่างทาง จึงใช้ระยะทางเวลาเดินทางน้อยกว่า และระบบยังมีความยืดหยุ่นในการให้บริการ คือ ในช่วงที่ผู้โดยสารใช้บริการมากสามารถกำหนดตารางการเดินรถเหมือนระบบขนส่งสาธารณะทั่วไป และช่วงที่ผู้โดยสารน้อยก็สามารถเรียกรถเพื่อใช้บริการได้ตามต้องการ ระบบเหมือนนี้จึงเหมือนรถแท็กซี่รวมกับระบบรถไฟฟ้า หรือเหมือนกับลิฟท์ส่วนตัวที่วิ่งในแนวราบและไม่ต้องจอดรับส่งระหว่างทาง 

Podcar เริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1975 ที่เมือง Morgantown ในรัฐเวสต์เวอร์จิเนียของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเมืองแห่งนี้ตั้งอยู่เชิงเขาและมีประชากรอยู่ประมาณ 30,000 คน นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนียที่มีนักศึกษาและคนทำงานอยู่จำนวนมาก ด้วยข้อจำกัดของสภาพภูมิประเทศจึงทำให้อาคารเรียนกระจายอยู่ทั่วเมือง แต่เดิมทางมหาวิทยาลัยจัดรถโดยสารรับส่งนักศึกษาระหว่างอาคารเรียนที่อยู่คนละฝั่งของตัวเมือง แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาสภาพจราจรที่ติดขัด จึงมองว่าแนวคิดของ PRT น่าจะเหมาะกับการแก้ไขปัญหานี้มากกว่าระบบขนส่งอื่น โดยระบบนี้มีทั้งหมด 5 สถานี ระยะทางรวม 13.2 กิโลเมตร รถมีทั้งหมด 73 คัน และถูกออกแบบให้จุผู้โดยสารได้ 20 คน

ต่อมาในปี 1979 ได้เริ่มใช้ระบบ PRT แห่งที่สองในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดุ๊ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระบบขนส่งที่เชื่อมระหว่างอาคารสองแห่งกับอาคารจอดรถ แต่ต้องยกเลิกการใช้งานและทำลายเส้นทางทิ้งเนื่องจากการขยายอาคารในโรงพยาบาล

หากเป็นระบบ PRT ที่ดูทันสมัยขึ้นมาหน่อยก็คงเป็นเส้นทาง ParkShuttle ที่เปิดให้บริการในปี 1999 ที่วิ่งด้วยรถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ บนเส้นทางถนนเฉพาะที่ฝังระบบนำทางไว้ใต้พื้นถนน เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟไฟฟ้า Kralingse Zoom กับ Rivium Business Park ในเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยมีระยะทางรวม 1.8 กิโลเมตร ระบบนี้มีสถานีทั้งหมด 5 แห่ง และในปี 2021 มีโครงการขยายเส้นทางโดยใช้รถยนต์อัตโนมัติวิ่งบนถนนสาธารณะ

นอกจากนั้นยังมีการนำระบบ PRT มาใช้ในการรับส่งผู้โดยสารในสนามบิน เช่น การรับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสาร 5 กับอาคารจอดรถของสนามบินฮีทโธรว์ในอังกฤษ โดยใช้ระบบของ ULTra  ที่เป็น Podcar ขนาดเล็กจุผู้โดยสารได้ 4 คน วิ่งไปตามเส้นทางเฉพาะที่มีระยะทางยาว 3.9 กิโลเมตร และสนามบินแห่งใหม่ในนครเชิงตูของจีน ก็ใช้ระบบ PRT ของ ULTra ในการรับส่งผู้โดยสารเองระหว่างอาคารผู้โดยสารสองหลังกับอาคารจอดรถ คาดว่าจะเริ่มใช้งานในปี 2021

ในเกาหลีใต้เองก็นำระบบ PRT มาใช้ในแหล่งท่องเที่ยว โดยระบบ SkyCube ถูกนำมาใช้ในเขตอนุรักษ์ของเมือง Suncheon เนื่องจากต้องการรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวเพราะระบบนี้ไม่มีการปล่อยมลพิษและเสียงรบกวนจากการก็วิ่งน้อยเพราะใช้ล้อยาง รวมถึงออกแบบให้เป็นทางยกระดับเพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามตลอดสองข้างทาง

ถ้าระบบขนส่งนี้มีข้อดีหลายอย่าง แต่ทำไมถึงยังมีใช้เพียงแค่ไม่กี่แห่งในโลก นั้นเพราะในอดีตระบบนี้ไม่เหมาะกับการใช้ในเมืองใหญ่หรือมีผู้โดยสารจำนวนมาก เพราะความสามารถในการขนส่งผู้โดยสารต่อชั่วโมงน้อยกว่าระบบขนส่งหลัก เช่น รถไฟฟ้าหรือรถใต้ดิน และหากสร้างในเมืองขนาดเล็กที่มีจำนวนผู้โดยสารเหมาะสมกับการใช้งาน ก็ต้องพบกับปัญหาการลงทุนที่สูงเมื่อเทียบกับการใช้รถเมล์แบบปกติ นอกจากนั้นความยืดหยุ่นและความสะดวกสบายในการใช้งานยังไม่เท่ากับการใช้รถแท็กซี่ที่ให้บริการรับส่งได้ถึงจุดหมายปลายทาง (Door to door) ระบบนี้จึงอาจเหมาะกับการรับส่งระหว่างอาคารในเส้นทางที่ไม่ไกลมากเช่นในสนามบิน

แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในปัจจุบัน อาจจะนำเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมาผสมเข้ากับระบบ PRT เช่น โครงการ ParkShuttle ในเนเธอร์แลนด์ เพื่อทำให้ต้นทุนการก่อสร้างเส้นทางลดต่ำลง และแนวโน้มการเกิดขึ้นของเมืองใหม่ไร้มลพิษที่มีเป้าหมายให้เป็นเมืองปลอดรถยนต์ อย่างโครงการ Ajman City ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ ที่มีแผนใช้ระบบ PRT เป็นระบบขนส่งรองเชื่อมต่อกับระบบขนส่งหลักเพื่อขนส่งผู้คนไปถึงจุดหมายที่ต้องการ โดยมีโครงข่ายเส้นทางรวมระยะทาง 120 กิโลเมตร รวมถึงแนวโน้วค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนที่สำคัญของระบบขนส่งสาธารณะ จึงอาจส่งผลให้ในอนาคตอันไม่ไกลนี้เราน่าจะได้เห็น PRT หรือ Podcar ใช้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

.

เขียนโดย : อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์
อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ข้อมูลอ้างอิง 
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Personal_rapid_transit
https://transportation.wvu.edu/prt 
https://today.duke.edu/2017/12/remembering-duke%E2%80%99s-railway https://www.2getthere.eu/projects/rivium/
https://newsroom.posco.com/en/koreas-first-personal-rapid-transit-prt-skycube/
https://www.zatran.com/en/technology/personal-rapid-transit-prt/
https://www.bloomberg.com/news/articles/2014-09-19/personal-rapid-transit-is-probably-never-going-to-happen
https://www.wired.com/2008/10/personal-pod-1/
https://www.bloomberg.com/news/articles/2013-01-15/would-more-drivers-use-mass-transit-if-it-mimicked-private-cars

 

“Podcar” ระบบขนส่งอัตโนมัติ ที่เรียกใช้ได้ตามต้องการ

หลายท่านน่าจะได้เคยดูหนังแนววิทยาศาสตร์โลกอนาคต เนื้อหาในเรื่องมียานพาหนะส่วนตัวมารับในเวลาที่ต้องการ และไปจุดหมายตามที่ต้องการโดยอัตโนมัติ ระหว่างทางก็นั่งคุยกันไปโดยไม่ต้องกังวลกับการควบคุมยานพาหนะนั้น ดูเหมือนว่าเรื่องแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต แต่ความเป็นจริงแล้วได้มีระบบขนส่งแบบนี้เปิดใช้งานจริงมานานกว่าสี่สิบปีแล้ว ในชื่อที่เรียกว่า “Podcar”

ในช่วงปี 1950 ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างกระจัดกระจาย คือเกิดชุมชนใหม่ในแถบชานเมือง แต่คนยังต้องเข้ามาทำงานในใจกลางเมืองด้วยการขับรถยนต์ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อใช้แก้ปัญหานี้ และในช่วงนั้นได้มีการวิจัยรูปแบบการขนส่งต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจราจร หนึ่งในนั้นก็มีแนวคิดว่าผู้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ใช่ระบบขนส่งมวลชนเพราะไม่สะดวกและไม่เป็นส่วนตัวเหมือนกับการใช้รถยนต์ จึงมีการพัฒนาระบบขนส่ง Private Public Transit (PRT) ขึ้น

ระบบ PRT เป็นยานพาหนะขนาดเล็กที่จุผู้โดยสารได้ 2-6 คน หากจุผู้โดยสารมากกว่านั้นจะถูกเรียกว่า Group Rapid Transport (GRT) หรือเรียกอีกชื่อว่า Podcar ตามรูปทรงของรถ ระบบของ Podcar ถูกออกแบบมาให้วิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนดและจอดตามจุดที่ต้องการโดยอัตโนมัติ และสิ่งที่แตกต่างจากระบบขนส่งสาธารณะทั่วไป คือ สามารถไปถึงจุดหมายโดยไม่ต้องจอดแวะระหว่างทาง จึงใช้ระยะทางเวลาเดินทางน้อยกว่า และระบบยังมีความยืดหยุ่นในการให้บริการ คือ ในช่วงที่ผู้โดยสารใช้บริการมากสามารถกำหนดตารางการเดินรถเหมือนระบบขนส่งสาธารณะทั่วไป และช่วงที่ผู้โดยสารน้อยก็สามารถเรียกรถเพื่อใช้บริการได้ตามต้องการ ระบบเหมือนนี้จึงเหมือนรถแท็กซี่รวมกับระบบรถไฟฟ้า หรือเหมือนกับลิฟท์ส่วนตัวที่วิ่งในแนวราบและไม่ต้องจอดรับส่งระหว่างทาง 

Podcar เริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1975 ที่เมือง Morgantown ในรัฐเวสต์เวอร์จิเนียของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเมืองแห่งนี้ตั้งอยู่เชิงเขาและมีประชากรอยู่ประมาณ 30,000 คน นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนียที่มีนักศึกษาและคนทำงานอยู่จำนวนมาก ด้วยข้อจำกัดของสภาพภูมิประเทศจึงทำให้อาคารเรียนกระจายอยู่ทั่วเมือง แต่เดิมทางมหาวิทยาลัยจัดรถโดยสารรับส่งนักศึกษาระหว่างอาคารเรียนที่อยู่คนละฝั่งของตัวเมือง แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาสภาพจราจรที่ติดขัด จึงมองว่าแนวคิดของ PRT น่าจะเหมาะกับการแก้ไขปัญหานี้มากกว่าระบบขนส่งอื่น โดยระบบนี้มีทั้งหมด 5 สถานี ระยะทางรวม 13.2 กิโลเมตร รถมีทั้งหมด 73 คัน และถูกออกแบบให้จุผู้โดยสารได้ 20 คน

ต่อมาในปี 1979 ได้เริ่มใช้ระบบ PRT แห่งที่สองในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดุ๊ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระบบขนส่งที่เชื่อมระหว่างอาคารสองแห่งกับอาคารจอดรถ แต่ต้องยกเลิกการใช้งานและทำลายเส้นทางทิ้งเนื่องจากการขยายอาคารในโรงพยาบาล

หากเป็นระบบ PRT ที่ดูทันสมัยขึ้นมาหน่อยก็คงเป็นเส้นทาง ParkShuttle ที่เปิดให้บริการในปี 1999 ที่วิ่งด้วยรถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ บนเส้นทางถนนเฉพาะที่ฝังระบบนำทางไว้ใต้พื้นถนน เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟไฟฟ้า Kralingse Zoom กับ Rivium Business Park ในเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยมีระยะทางรวม 1.8 กิโลเมตร ระบบนี้มีสถานีทั้งหมด 5 แห่ง และในปี 2021 มีโครงการขยายเส้นทางโดยใช้รถยนต์อัตโนมัติวิ่งบนถนนสาธารณะ

นอกจากนั้นยังมีการนำระบบ PRT มาใช้ในการรับส่งผู้โดยสารในสนามบิน เช่น การรับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสาร 5 กับอาคารจอดรถของสนามบินฮีทโธรว์ในอังกฤษ โดยใช้ระบบของ ULTra  ที่เป็น Podcar ขนาดเล็กจุผู้โดยสารได้ 4 คน วิ่งไปตามเส้นทางเฉพาะที่มีระยะทางยาว 3.9 กิโลเมตร และสนามบินแห่งใหม่ในนครเชิงตูของจีน ก็ใช้ระบบ PRT ของ ULTra ในการรับส่งผู้โดยสารเองระหว่างอาคารผู้โดยสารสองหลังกับอาคารจอดรถ คาดว่าจะเริ่มใช้งานในปี 2021

ในเกาหลีใต้เองก็นำระบบ PRT มาใช้ในแหล่งท่องเที่ยว โดยระบบ SkyCube ถูกนำมาใช้ในเขตอนุรักษ์ของเมือง Suncheon เนื่องจากต้องการรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวเพราะระบบนี้ไม่มีการปล่อยมลพิษและเสียงรบกวนจากการก็วิ่งน้อยเพราะใช้ล้อยาง รวมถึงออกแบบให้เป็นทางยกระดับเพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามตลอดสองข้างทาง

ถ้าระบบขนส่งนี้มีข้อดีหลายอย่าง แต่ทำไมถึงยังมีใช้เพียงแค่ไม่กี่แห่งในโลก นั้นเพราะในอดีตระบบนี้ไม่เหมาะกับการใช้ในเมืองใหญ่หรือมีผู้โดยสารจำนวนมาก เพราะความสามารถในการขนส่งผู้โดยสารต่อชั่วโมงน้อยกว่าระบบขนส่งหลัก เช่น รถไฟฟ้าหรือรถใต้ดิน และหากสร้างในเมืองขนาดเล็กที่มีจำนวนผู้โดยสารเหมาะสมกับการใช้งาน ก็ต้องพบกับปัญหาการลงทุนที่สูงเมื่อเทียบกับการใช้รถเมล์แบบปกติ นอกจากนั้นความยืดหยุ่นและความสะดวกสบายในการใช้งานยังไม่เท่ากับการใช้รถแท็กซี่ที่ให้บริการรับส่งได้ถึงจุดหมายปลายทาง (Door to door) ระบบนี้จึงอาจเหมาะกับการรับส่งระหว่างอาคารในเส้นทางที่ไม่ไกลมากเช่นในสนามบิน

แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในปัจจุบัน อาจจะนำเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมาผสมเข้ากับระบบ PRT เช่น โครงการ ParkShuttle ในเนเธอร์แลนด์ เพื่อทำให้ต้นทุนการก่อสร้างเส้นทางลดต่ำลง และแนวโน้มการเกิดขึ้นของเมืองใหม่ไร้มลพิษที่มีเป้าหมายให้เป็นเมืองปลอดรถยนต์ อย่างโครงการ Ajman City ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ ที่มีแผนใช้ระบบ PRT เป็นระบบขนส่งรองเชื่อมต่อกับระบบขนส่งหลักเพื่อขนส่งผู้คนไปถึงจุดหมายที่ต้องการ โดยมีโครงข่ายเส้นทางรวมระยะทาง 120 กิโลเมตร รวมถึงแนวโน้วค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนที่สำคัญของระบบขนส่งสาธารณะ จึงอาจส่งผลให้ในอนาคตอันไม่ไกลนี้เราน่าจะได้เห็น PRT หรือ Podcar ใช้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น


ข้อมูลอ้างอิง 
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Personal_rapid_transit
https://transportation.wvu.edu/prt 
https://today.duke.edu/2017/12/remembering-duke%E2%80%99s-railway https://www.2getthere.eu/projects/rivium/
https://newsroom.posco.com/en/koreas-first-personal-rapid-transit-prt-skycube/
https://www.zatran.com/en/technology/personal-rapid-transit-prt/
https://www.bloomberg.com/news/articles/2014-09-19/personal-rapid-transit-is-probably-never-going-to-happen
https://www.wired.com/2008/10/personal-pod-1/
https://www.bloomberg.com/news/articles/2013-01-15/would-more-drivers-use-mass-transit-if-it-mimicked-private-cars


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

การที่ JD Group ได้ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งทางด้านการค้าออนไลน์ในจีนนั้น ปัจจัยสำคัญมาจากระบบที่โลจิสติกส์ที่เข้มแข็ง!!

ท่านผู้อ่านน่าจะเคยได้ยินชื่อ JD.com ผู้ให้บริการขายสินค้าออนไลน์จากจีนที่ได้เข้ามาในไทยไม่กี่ปีที่ผ่านมา การที่ JD Group ได้ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งทางด้านการค้าออนไลน์ในจีนนั้น ปัจจัยสำคัญมาจากระบบที่โลจิสติกส์ที่เข้มแข็ง

ปี 2003 ประเทศจีนเกิดการแพร่ระบาดของโรคซาร์สส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าออกมาซื้อของนอกบ้าน ริชาร์ด หลิว (Richard Liu) ที่เคยเปิดร้านขายอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์จึงมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจออนไลน์ และเริ่มก่อตั้ง JD.com ในปี 2004

แต่เดิม JD.com ได้ว่าจ้างผู้ให้บริการโลจิสติกส์ภายนอก (third party logistics) เป็นผู้กระจายสินค้าให้แก่ตน และทางบริษัทเห็นว่าการที่จะชนะคู่แข่งที่อยู่ในตลาดมาก่อนอย่าง Alibaba ได้ต้องมีระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ แต่ผู้ให้บริการที่มีอยู่ในขณะนั้นยังไม่สามารถตอบสนองได้ตามต้องการ จึงได้ก่อตั้ง JD Logistics ขึ้นในปี 2007 โดยเป้าหมายคือส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า และคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จได้อย่าง Amazon ยักษ์ใหญ่แห่งวงการอีคอมเมิร์ซระดับโลก 

ในปี 2010 เป็นผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายแรกที่ให้บริการการจัดส่งแบบภายในวันและการจัดส่งในวันถัดไป (same-day and next-day delivery)  ในขณะที่ Amazon ยังให้บริการจัดส่งภายใน 2 วัน และเริ่มให้บริการจัดส่งภายในวันเดียวในอีก 9 ปีต่อมา

ในปี 2016 JD.com เป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายแรกที่เริ่มให้บริการส่งสินค้าด้วยโดรน โดยมองเห็นปัญหาว่าชาวบ้านที่อาศัยในหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล เส้นทางทุรกันดาร มีทางเลือกในการซื้อสินค้าน้อย เพราะผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าเข้าไม่ถึงเนื่องจากต้นทุนการขนส่งที่สูงและไม่คุ้มกับค่าเดินทาง  JD Logistics จึงใช้โดรนที่พัฒนาขึ้นโดย JD-X หน่วยธุรกิจใน JD Group ที่ทำหน้าวิจัยและพัฒนาระบบ Smart Logistics ในการจัดส่งสินค้า ขั้นตอนการทำงาน คือ โดรนพร้อมสินค้าถูกส่งออกจากสถานีขนส่งในแต่ละเมืองและบินไปส่งสินค้าในแต่ละหมู่บ้านตามจุดกำหนด ต่อจากนั้นผู้ประสานงาน JD Logistics แต่ละชุมชนนำสินค้าไปส่งมอบให้ถึงบ้านลูกค้า โดยวิธีการนี้จากเดิมที่ต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วโมงในการขับรถอ้อมเขา หรือต้องต่อเรือเพื่อไปยังเกาะต่าง ๆ เหลือเพียงไม่กี่นาทีสินค้าก็ถูกส่งถึงมือลูกค้าที่อยู่ห่างไกลด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าวิธีการเดิม 

ปี 2019 JD Logistics ได้เปิดตัวรถส่งสินค้าอัตโนมัติมีหน้าที่นำสินค้าไปส่งให้ยังลูกค้าตามสถานที่ต่าง ๆ ในรัศมี 5 กิโลเมตรจากสถานีขนส่ง โดยรถ 3 คัน สามารถทำงานทดแทนพนักงานขนส่งสินค้าได้ถึง 2 คน จึงสามารถช่วยลดต้นทุนในการจ้างงาน และยิ่งมีประโยชน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันให้บริการใน 20 เมืองในจีน

และในปี 2020 JD Logistics เปิดให้บริการจัดส่งด่วนภายในหนึ่งชั่วโมง และขยายศูนย์กระจายสินค้าอัจฉริยะ ที่ทำการคัดแยกสินค้าด้วยระบบอัตโนมัติที่เรียกว่า ”Asia No.1 logistics park” ไปยัง 28 แห่งทั่วประเทศจีน เพื่อเพิ่มพื้นที่การให้บริการจัดส่งสินค้าแบบภายในวันและการจัดส่งในวันถัดไป โดยเพิ่มจาก 6 เมืองเมื่อสิบปีที่แล้วเป็น 200 เมือง ในส่วนเมืองขนาดเล็กที่ไม่คุ้มกับการสร้างศูนย์กระจายสินค้าของตนเอง ได้มีความร่วมมือกับผู้ประกอบการขนส่งในท้องถิ่นให้ทำการจัดเก็บและกระจายสินค้าให้ผ่านระบบของ JD Logistics จนในปัจจุบันมีเครือข่ายคลังสินค้าถึง 1,000 แห่ง และมีพื้นที่รวมกันมากถึง 21 ล้านตารางเมตร

จากตัวอย่างที่เล่ามาเห็นได้ว่า JD.com ได้มุ่งเน้นกลยุทธ์สร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว เพื่อให้ได้ผลตามกลยุทธ์ที่ตั้งไว้จึงได้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ทางด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้เป็นที่หนึ่งทางด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซของจีน

เขียนโดย อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ข้อมูลอ้างอิง 
https://www.chinadaily.com.cn/a/202012/25/WS5fe54b99a31024ad0ba9e7f6.html
https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/autonomous-delivery-vehicles-deployed-in-chinese-cities-amid-the-covid-19-pandemic
https://www.businessinsider.com/how-chinese-ecommerce-giant-jd-logistics-built-up-to-34-billion-ipo-2021-5
https://corporate.jd.com/ourBusiness#jdLogistics

รู้ลึกเส้นทาง Landbridge ขนส่งสินค้า เชื่อมต่อโลก!!

ครั้งที่แล้วได้เล่าเกี่ยวกับที่มาและเส้นทางแลนด์บริดจ์ในอดีตกันไปแล้ว ในสัปดาห์นี้ก็ขอมาเล่าเกี่ยวกับเส้นทางที่ได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้ากันบ้าง

เริ่มต้นจากเส้นทางยอดนิยม คือ แลนด์บริดจ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคกับแอตแลนติก โดยขนสินค้าขึ้นฝั่งที่ท่าเรือทางตะวันตก เช่น ท่าเรือลองบีช หรือท่าเรือลอสแองเจอริสในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วขนสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟมายังฝั่งตะวันออกของประเทศ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสามเส้นทางหลักในการส่งสินค้าจากเอเชียมายังทางตะวันออกของอเมริกาที่มีประชากรอยู่หนาแน่นและเป็นตลาดนำเข้าสินค้าที่สำคัญ ส่วนคู่แข่งอีกสองเส้นทางคือ การแล่นเรือผ่านทางคลองสุเอซและคลองปานามา ในปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดการขนส่งสินค้าใกล้เคียงกันทั้งสามเส้นทาง แต่โครงการการขยายคลองปานามาที่แล้วเสร็จในปี 2016 ก็คาดว่าจะส่งผลต่อปริมาณสินค้าที่ลดลงในเส้นทางนี้

นอกจากนั้น มีการคาดการณ์ว่าหากส่งสินค้าจากโตเกียว ไปยังท่าเรือรอตเทอร์ดาม ในประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยเส้นทางนี้ จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ถึงแม้ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าเส้นทางที่ผ่านคลองสุเอซที่ใช้เวลาถึง 5 - 6 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงกว่าการขนส่งทางเรือผ่านทางคลองสุเอซ

เส้นทางต่อมา คือ  Trans-Asian Railway หรือ Eurasian Landbridge ที่เป็นหนึ่งในโครงการ OBOR (On belt one road) หรือในปัจจุบันเรียกกันว่า BRI (Belt and Road Initiative) เป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างเอเชียตะวันออกกับยุโรป โดยใช้เส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรียเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมกับยุโรป แล้วแยกได้ 3 เส้นทาง คือ ผ่านทางประเทศมองโกเลียในเส้นทางทรานส์มองโกเลียก่อนเข้าประเทศจีน หรือมาทางเมืองวลาดิวาสต็อกของรัสเซีย แล้วเข้าทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเส้นทางสุดท้ายคือมาทางประเทศคาซัคสถานก่อนเข้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

ถึงแม้จะมีอุปสรรคหลายอย่างในเส้นทางนี้ เช่น เส้นทางนี้ผ่านถึง 7 ประเทศจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศ รวมถึงกฎระเบียบศุลากากรของแต่ละประเทศที่ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่สินค้าผ่านแดน และยังมีประเด็นเรื่องขนาดรางที่มีความแตกต่างกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่ใช้รางกว้าง 1.52 เมตร แต่ในจีนและยุโรปใช้รางกว้าง 1.435 เมตร  ปัญหาเหล่านั้น ทางรัฐบาลจีนก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ และมีรถไฟขบวนแรกที่เปิดให้บริการจากปักกิ่งไปยังฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันในปี 2018

เส้นทางนี้ ช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางจากปกติที่ส่งสินค้าทางเรือ จากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ไปท่าเรือรอตเทอร์ดาม ใช้เวลา 27-37 วัน เป็น 18 วัน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าขนส่งที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว และคาดการณ์ว่ารัฐบาลจีนให้เงินอุดหนุนโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 50% เพื่อดึงดูดใจให้ผู้ส่งสินค้าเลือกใช้เส้นทางนี้ และใช้โครงการนี้เพื่อดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศ เพราะมีการให้กู้ยืมเงินแก่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เพื่อใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโครงการนี้

จากที่เล่ามาจะเห็นได้ว่าถึงแม้เส้นทางบางเส้น จะใช้ระยะเวลาการขนส่งที่น้อยกว่า แต่ผู้ส่งสินค้ากลับไม่เลือกใช้เพราะมองเรื่องต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ และบางโครงการรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินมาอุดหนุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขนส่งในเส้นทางนั้น ดังนั้นโครงการลงทุนต่าง ๆ ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง จึงจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการอาจไม่เป็นไปตามผลการศึกษาที่ทำไว้

เขียนโดย อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ข้อมูลอ้างอิง 
https://transportgeography.org/contents/applications/transcontinental-bridges
https://iit.adelaide.edu.au/ua/media/609/Discussion%20Paper%202020-04%20AESCON.pdf
https://www.forbes.com/sites/salvatorebabones/2017/12/28/the-new-eurasian-land-bridge-linking-china-and-europe-makes-no-economic-sense-so-why-build-it/?sh=39be641c5c9c

‘จีน’ ใช้ประโยชน์จากภาวะโลกร้อน บุกขั้วโลกเหนือ เปิดเส้นทางเดินเรือ  ‘Polar Silk Road’

‘จีน’ ใช้ประโยชน์จากภาวะโลกร้อน บุกขั้วโลกเหนือ เปิดเส้นทางเดินเรือ  ‘Polar Silk Road’

พูดถึงมหาสมุทรอาร์กติกหลายท่านอาจไม่คุ้นว่าอยู่แถวไหน แต่หากบอกว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของหมีขาวและเต็มไปด้วยน้ำแข็งก็น่าจะพอคุ้นกันบ้าง

มหาสมุทรแห่งนี้ถูกจัดอันดับให้เป็นมหาสมุทรที่เล็กที่สุดและอยู่เหนือสุดของโลก ด้วยความหนาวเย็นจึงทำให้บางส่วนเป็นน้ำแข็งตลอดปี และเป็นน้ำแข็งเกือบทั้งหมดในช่วงหน้าหนาว นอกจากนั้นยังเชื่อมทวีปเอเชียกับยุโรปด้วยเส้นทาง Northern Sea Route

Northern Sea Route คือ เส้นทางเดินเรือที่เริ่มจากรัสเซียฝั่งตะวันออกที่อยู่ในเอเชีย แล้วมุ่งหน้าขึ้นเหนือเข้าสู่มหาสมุทรอาร์กติก เลาะริมชายฝั่งของรัสเซียจนถึงฝั่งตะวันตกที่อยู่ในทวีปยุโรป เส้นทางเดินเรือนี้ถูกค้นพบตั้งแต่ปี 1872 แต่เพราะทะเลเป็นน้ำแข็ง จึงแล่นเรือได้เฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมเท่านั้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อน และต้องใช้เรือตัดน้ำแข็งแล่นนำทาง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการเดินเรือในเส้นทางนี้สูงและไม่สะดวกเมื่อเทียบกับเส้นทางอื่น

แต่จากภาวะโลกร้อนในปัจจุบันส่งผลให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น จนในปี 2017 เรือบรรทุกแก๊สของรัสเซียสามารถเดินเรือผ่านเส้นทางนี้ได้โดยไม่ต้องมีเรือตัดน้ำแข็งนำขบวน

จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้จีนเห็นโอกาสในการขยายเส้นทางในการขนส่งสินค้าใหม่จึงประกาศในปี 2018 ว่าจะบุกเบิกเส้นทางสายไหมขั้วโลก (Polar silk road) เพราะหากใช้เส้นทางเดินเรือนี้จะประหยัดระยะเวลาเดินทางจากจีนไปยังท่าเรือรอตเตอร์ดาม ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เป็นแหล่งกระจายสินค้าที่สำคัญของยุโรปได้ถึง 30 - 40%

นอกเหนือจากเส้นทางการค้าใหม่แล้วจีนยังเข้าถึงแหล่งพลังงานที่สำคัญนั้นก็คือแก๊สธรรมชาติ โดยมีการถือหุ้นโครงการ Yamal ในประเทศรัสเซีย ผ่านทาง China National Petroleum Corp. (CNPC) จำนวน 20% และกองทุน China’s Silk Road อีก 9.9% ซึ่งบริเวณที่ตั้งของโครงการ Yamal นั้น คาดการณ์ว่ามีแก๊สธรรมชาติอยู่ถึง 15% ของทั้งโลก และจีนเองก็เป็นลูกค้ารายใหญ่ การพัฒนาเส้นทางเดินเรือนี้จึงส่งผลต่อต้นทุนการนำเข้าแก๊สของจีน เมื่อต้นทุนการนำเข้าแก๊สถูกลงก็ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าภายในประเทศ

นอกจากนั้นจีนยังส่งเสริมทางด้านการวิจัยและเทคโนโลยี โดยสถาบันอวกาศและเทคโนโลยีของจีนร่วมมือกับมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นได้ส่งดาวเทียมสำรวจขึ้นไปบริเวณนี้เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงสภาพของน้ำแข็งและส่งข้อมูลกลับมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเดินเรือ

จากเรื่องนี้เราเห็นได้อย่างชัดเจนถึงการวางเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานว่าจะใช้ในการขนอะไร และจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศอย่างไร รวมถึงยังส่งเสริมทางด้านการวิจัยเพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในภาคธุรกิจ แล้วคงต้องถามกลับว่าโครงการก่อสร้างพื้นฐานหลายโครงการในไทยมีแผนการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติชัดเจนแบบนี้หรือไม่

เขียนโดย อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top